วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เขตการค้าเสรี

เขตธุรกิจเสรีของดูไบ(Dubai Free Zones)
            เมื่อตอนก่อน  เราคุยเรื่อง  การเปิดธุรกิจในดูไบ  ที่ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในรัฐอาบูดาบีแตกต่างกัน เช่น ในตึก villa  3 ห้องนอนราคาอยู่ที่ 300,000 ดีแรห์มต่อปีขึ้นไป (ประมาณ 3 ล้านบาท) ในขณะที่ showroom ในตึกและสำนักงานทั่วไปตารางเมตรละ 2000 ดีแรห์ม (20,000 บาท) ขึ้นไปต่อปี  
จ๊ากกกกกกก   เห็นรายละเอียดการเปิดธุรกิจแล้ว  แล้วทำไงดี  มีที่ไหนที่ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้างนี่   ค่าเช่ามหาโหดขนาดนั้น ไม่เป็นไรค่ะ  มีค่ะ  ที่ดูไบมีเขตธุรกิจเสรี  มาดูกัน
           
เขตธุรกิจเสรีคืออะไร และมีประโยชน์ต่อนักลงทุนอย่างไร
เขตธุรกิจเสรี ที่รัฐดูไบได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้นนั้น คือพื้นที่เฉพาะที่สามารถให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปเช่าพื้นที่ทำธุรกิจได้โดยสามารถถือหุ้นได้100% และไม่ต้องมีหุ้นส่วนเป็นชาวท้องถิ่นเหมือนกับการทำธุรกิจนอกเขต และมีข้อยกเว้นทางด้านภาษีโดยที่ไม่ต้องจ่ายทั้งภาษีรายได้ส่วนบุคคล ภาษีรายได้บริษัท ภาษีนำเข้าและส่งออก ทั้งยังสามารถโอนเงินกลับประเทศต้นทางได้อย่างไม่มีข้อจำกัด บางที่อาจให้สิทธิ์พิเศษในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้ด้วย รวมทั้งการจัดจ้างบุคลากรและแรงงานซึ่งจะไม่ได้อยู่ภายใค้กฎหมายแรงงาน แต่ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบ
เฉพาะของแต่ละเขตธุรกิจเสรี โดยสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารเขตเสรีแต่ละเขต ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชาวต่างชาติพากันมาลงทุนในดูไบกันมากขึ้น
และเพื่อรองรับการขยายตัวของนักลงทุนต่างชาติ เขตธุรกิจเสรีต่างๆเหล่านี้อาจจะดำเนินการโดยรัฐบาลของดูไบหรือเอกชนก็ได้ บางที่อาจจะมีพื้นที่กว้างขวางกินบริเวณหลายร้อยไร่ แต่บางที่อาจจะเป็นแค่เพียงอาคารใดอาคารหนึ่ง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งเขตธุรกิจนั้นๆขึ้นมา แต่ละเขตจะมีพื้นที่ให้เช่าสำหรับทำสำนักงานหรือโกดังเก็บของได้ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท นอกจากนั้นยังมีสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์ บริการพร้อม บางแห่งอาจมีบริการด้านอื่นๆเสริมเช่น การรักษาความปลอดภัย การจัดหาหรือจัดจ้างพนักงาน บริการทำความสะอาด บริการไปรษณีย์ เป็นต้น หรือบางที่อาจขยายสำหรับทำเป็นที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันก็ได้ บางแห่งนั้นออกแบบให้เป็นเหมือนกับเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งเลยทีเดียว
ขณะนี้ดูไบมีเขตธุรกิจเสรีที่เปิดทำการแล้ว 20 แห่ง แบ่งแยกไปตามประเภทของธุรกิจ แต่บางที่เราก็อาจจะทำธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ของเขตนั้นๆก็ได้ ขึ้นอยู่กับกฎและระเบียบปฎิบัติ และการพิจารณาการให้ใบอนุญาตจากใบสมัครที่ส่งเข้าไปให้คณะกรรมการของเขตธุรกิจเสรีนั้นๆ
1.Dubai Airport Free Zone (DAF) ตั้งอยู่ที่ Al Quds Street, opposite Al Tawar area, Deira, Dubai (ใกล้สนามบินนานาชาติดูไบ terminal 2)
เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการลงทุนจากต่างประเทศของทางรัฐบาลดูไบ เป็นเขตธุรกิจเสรีที่เจริญเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในดูไบ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้บริเวณท่าอากาศยานนครดูไบทำให้ง่ายต่อการขนส่งทางอากาศ ขณะนี้ ในDubai Airport Freezone มีบริษัทที่เช่าพื้นที่ทำการอยู่ทั้งหมด 1,400 บริษัท (ปี 2008) ภาคธุรกิจที่สามารถตั้งบริษัทในเขตนี้นั้นเป็นได้ทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้าทั่วไปและธุรกิจการบริการ เป็นเขตการค้าเสรีที่มีบริการต่างๆรองรับสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งทีเดียว ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ www.dafza.ae

2.Dubai Silicon Oasis Authority (DSO) ตั้งอยู่ระหว่างถนน Emirates กับ ถนน Al Ain
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2004 เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร เขตธุรกิจเสรีนี้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของการออกแบบและพัฒนาการค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยีของโลก แห่งหนึ่ง ในเขตนี้จะมีทั้งส่วนที่
เป็นพื้นที่ทำธุรกิจและส่วนที่เป็นที่พักอาศัย ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ www.dso.ae

3.Dubai Internet City (DIC)
เขตธุรกิจเสรีนี้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการพัฒนาของธุรกิจประเภทการติดต่อสื่อสารและโทรคมนาคมให้ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านธุรกิจประเภทนี้ เช่น Microsoft, Oracle, HP, IBM, Dell, Siemens, Canon, Logica, Sony
Ericsson ต่างก็มาตั้งบริษัทกันที่เขตนี้ ผู้สนใจติดต่อได้ที่ www.dubaiinternetcity.com

4.Dubai Media City (DMC)
เขตธุรกิจเสรีเพื่อสื่อและสิ่งพิมพ์นี้ ถือว่าอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาคที่พาดผ่านตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียใต้ ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางของธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ มีการจัดตั้งศูนย์ธุรกิจเพื่อสื่อและสิ่งพิมพ์เพื่อส่งเสริมและให้ข้อมูลที่จำเป็นกับผู้ที่เข้ามาจัดตั้งบริษัทในเขตนี้ ตัวอย่างบริษัทที่อยู่ในเขตนี้ก็เช่น Reuters, CNN, CNBC, MBC, Sony, Showtime ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่www.dubaimediacity.com

5.Dubai Multi Commodities Centre (DMCC) ประกอบด้วยตึก 3 แห่ง คือ 1..Almas Tower 2.AU Tower 3.AGTower อยู่บน ถนน Sheikh Zayed
ดูไบได้ชื่อว่าเป็น “City of Gold” หรือเมืองแห่งทองคำ ดังนั้นการส่งเสริมการค้าขาย การส่งออกและนำเข้าทองคำรวมไปถึงอัญมณีอื่นๆจึงเป็นเรื่องสำคัญจนกระทั่งต้องตั้งเขตธุรกิจเสรีเพื่อการนี้โดยเฉพาะ สินค้าประเภททองคำ เพชร พลอยสีต่างๆและโลหะมีค่าประเภท
ทองคำขาว พัลลาเดียม เงิน เป็นสินค้าที่มีการส่งออกและนำเข้าจากทวีปต่างๆโดยมีดูไบเป็นศูนย์กลาง นอกจากนั้นแล้วเขตการค้านี้ยังมีธุรกิจที่ส่งออกและนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคอื่นๆที่ทั้งบริโภคภายในประเทศและใช้ดูไบเป็นฐานการขยายตลาดเพื่อผ่านไปยังส่วนอื่นของ
ภูมิภาคด้วย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ www.dmcc.ae

6.Dubai Knowledge Village (DKV)
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2003 เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของภูมิภาคตะวันออกกลางเลยทีเดียว ปัจจุบันมีผู้มาลงทุนจัดตั้งสถานศึกษาสถาบันวิจัย และบริษัทจัดหาพนักงานมากกว่า 300 บริษัท จาก 5 ทวีปทั่วโลก เช่น The University of Wollongong in Dubai ซึ่ง
เป็นสาขามาจากประเทศออสเตรเลีย , Middlesex University Dubai Campus from UK เขตธุรกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อตอบสนองและกระตุ้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจใหม่ๆ รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับนานาชาติ และเพื่อยกระดับการศึกษาของดูไบให้สูงทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ www.kv.ae

7.Dubai Gold & Diamond Park อยู่บนถนน Sheikh Zayed ใกล้กับ Dubai Police Traffic department
เป็นเขตธุรกิจเสรีที่จัดตั้งโดยบริษัทเอกชนของดูไบ แต่ได้รับการสนับสนุนจาก His Highness Grneral Sheikh Mohammed BinRashid Al Maktoum, Crown Prince Of Dubai. ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของดูไบซึ่งง่ายต่อการเดินทางไปที่ต่างๆ ลักษณะของเขตนี้จะเป็นอาคารที่เป็นทั้งศูนย์ค้าส่งและค้าปลีกสินค้าอัญมนี นอกจากนั้น ยังมีส่วนที่เป็นโรงงานผลิตอีกด้วย ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่   www.goldanddiamondpark.com

8.International Media Production Zone (IMPZ) ตั้งอยู่บนถนน Emirates
เป็นเขตธุรกิจเสรีที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมาก เนื่องจากมีการบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างถูกวิธี มีการนำกลับมาใช้ใหม่แทนที่จะทิ้งไปอย่างเสียเปล่า เป็นการจัดโซนสำหรับธุรกิจด้านสื่อและสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ ภายในเขตนอกจากจะมีส่วนที่เป็นสำนักงานให้เช่าแล้ว ยังมีส่วนที่เป็นที่พักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆครบครัน จนเรียกได้ว่าเป็นเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งที่อยู่ซ้อนในเมืองใหญ่ ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่www.impz.ae

9.Jebel Ali Free Zone (JAFZA) ตั้งอยู่ใกล้ Jebel Ali Sea Port
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1985 เป็นเขตธุรกิจเสรีที่จัดว่ามีขนาดใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีบริษัทต่างๆเข้าเป็นสมาชิกมากกว่า 6,000แห่งจากทั่วโลก และหลากหลายประเภท เป็นเขตที่ถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนทางธุรกิจที่สำคัญที่สุดของดูไบ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
www.jafza.ae

10.Dubai Techno Park
ตั้งอยู่ที่ Jafza เป็นเขตธุรกิจเสรีเขตเดียวที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุดระหว่างท่าเรือและท่าอากาศยาน Dubai Techno Parkเป็นสมาชิกของเขตเศรษฐกิจโลก อยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท Dubai World บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในโลก ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งเป้าให้เขตนี้เป็นผู้นำด้านการค้นคว้า วิจัยและพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆของโลกผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ www.tp.ae

11.Dubai Cars & Automotive Zone (DUCAMZ) ตั้งอยู่ที่ Ras Al Khor
อยู่ภายใต้การบริหารของ Jebel Ali Free Zone ถูกจัดตั้งมาเพื่อรองรับอุตสาหกรรม Re-Export รถยนต์ไปยังภูมิภาคเเชียและอาฟริกาซึ่งตลาดยานยนต์มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก ทำเลของเขตนี้อยู่ใกล้ทางท่าเรือและท่าอากาศยาน ทั้งยังใกล้กับถนนที่เชื่อมต่อไปได้ทั่ว
ภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย ผู้ที่สนใจติดต่อ www.uaefreezones.com

12.Dubai Healthcare City (DHCC) มี 2 แห่ง คือ 1.หลัง Wafi City, Dubai 2.Rashid Hospital
เขตนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับการรักษาพยาบาลให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกับนานาชาติ รัฐเปิดโอกาสให้ทั้งชาวต่างชาติและชาวพื้นเมืองที่สนใจในธุรกิจนี้เข้ามาลงทุน โดยมีเงื่อนไขและข้อตกลงตามระเบีนบของเขตการค้าเสรีทั่วๆไป ผู้สนใจติคต่อ www.dhcc.ae

13.Dubai International Financial Center (DIFC) ตั้งอยู่ที่ The Gate ชั้นที่ 14
DIFC เป็นศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลกที่มีมาตรฐานเดียวกับที่นิวยอร์ก ลอนดอน และฮ่องกง นอกจากจะรองรับการเจริญเติบโตของตลาดการเงินในภูมิภาคแล้วยังรองรับการขยายตัวของตลาดการเงินในยุโรปตะวันตกและเอเชียตะวันออกที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ เมื่อเปิดตัวในปี 2004 ก็มีบริษัทที่ทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆทั่วโลกเข้าเป็นสมาชิกด้วยมากมาย ธุรกิจการเงินที่ DIFC สนับสนุนอาทิเช่น ธุรกิจธนาคาร ตลาดหุ้น การบริหารจัดการกองทุน ธุรกิจการประกันภัย เป็นต้น ผู้ที่สนใจติดต่อ www.difc.ae

14.Dubai Aid City & Humanitarion / International Humaitarian City (IHC) ตั้งอยู่หลัง Business Bay
เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งโดยรัฐบาลดูไบ เกิดจากการรวมตัวของ Dubai Aid City (DAC) และ Dubai Humanitarian City(DHC) เป็นองค์กรที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับศาสนา การเมือง หรือองค์กรที่แสวงหาผลกำไรใดๆ แต่ขับเคลื่อนเรื่องมนุษยธรรมเพื่อ
การพัฒนาสังคม และตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า การจัดการด้านมนุษยธรรมจะมีส่วนสร้างความเจริญให้กับธุรกิจได้ ดังนั้นในเขตนี้จึงไม่ได้เปิดรับเฉพาะองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรการกุศลอื่นๆ แต่ยังเปิดรับผู้ที่ต้องการทำ
ธุรกิจทุกประเภท ทั้งขายสินค้า และการบริการ ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ www.ihc.ae

15.Dubai Studio City (DSC)
คงไม่เคยมีใครคิดว่าการทำภาพยนต์สักเรื่องจะสามารถผลิตได้ในสถานที่ๆเดียวตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงสำเร็จออกมาเป็นผลงานที่จะออกสู่สายตาผู้ชมจะมีอยู่จริง แต่ที่ดูไบคุณสามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้ Dubai Studio City เป็นสถานที่ๆคุณสามารถเริ่มต้น
กระบวนการผลิตภาพยนตร์ สารคดี รายการโทรทัศน์ หรือสื่ออื่นๆจนจบสมบูรณ์ได้ในที่เดียว เขตนี้เปิดตัวด้วยความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางของธุรกิจสื่อบันเทิงในภูมิภาค มีเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียบพร้อม ทั้งมีโรงเรียนและสถาบันที่เปิดสอน อบรมบุคลากรให้พร้อม
สำหรับการทำธุรกิจประเภทนี้ในบริเวณนี้ รัฐบาลพยายามส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยนอกจากข้อเสนอในเรื่องการยกเว้นภาษีตามแบบเขตการค้าเสรีอื่นๆแล้ว ยังมีการจัดงานเพื่อเป็นการโปรโมทเขตนี้อีกด้วย เช่นงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ www.dubaistudiocity.com

16.Dubai Flower Center ตั้งอยู่ในสนามบินนานาชาติดูไบ
เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจฟาร์มดอกไม้ ที่มีความต้องการมากขึ้นทั่วโลก ดูไบจัดตั้งเขตนี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการขนส่งดอกไม้และของสดที่ต้องแข่งกับเวลา รวมไปถึงการเก็บรักษา เพื่อการกระจายไปยังส่วนต่างๆของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สนใจติคต่อ
www.dubaiflowercentre.com

17.Dubai Biotechnology and Research Park (DuBiotech) ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของ Jafza
คือศูนย์ศึกษาเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพและยารักษาโรค ประกอบไปด้วยห้องทดลอง ศูนย์ค้นคว้าและวิจัยงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ยารักษาโรค หรือสายงานที่เกี่ยวข้องกับชีวเคมีทั้งหลาย โดยมีมาตรฐานตามข้อบังคับขององค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและยาแห่ง
สหรัฐอเมริกา หรือสถาบันนานาชาติอื่นๆเป็นต้น ในขณะเดียวกันภายในเขตนี้ยังแบ่งส่วนที่เป็นที่พักอาศัย โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาลโรงเรียน และสวนสาธารณะ เพื่อเติมเต็มให้กับผู้ที่เข้ามาอยู่ ในขณะนี้มี บริษัทที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ DuBiotech ทั้งหมด 26 บริษัท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้สนใจติดต่อได้ที่ www.dubiotech.com

18.Dubai Outsource Zone (DOZ)
เป็นเขตธุรกิจเสรีแห่งแรกของโลกที่นำเสนอการทำธุรกิจรับเหมาช่วงที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจข้ามชาติที่นิยมการใช้บริการเหมาช่วง ซึ่ง DOZ สามารถตอบสนองความต้องการ โดยจัดหาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานให้กับ
บริษัทต่างๆได้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ www.doz.ae

19.Dubai Logistics City (DLD)
ทุกวันนี้ดูไบถูกเรียกว่า เป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการขนถ่ายสินค้าจากทั่วทุกมุมของโลก เป็นประตูที่นำเข้าและส่งออกสินค้าจากภูมิภาคตะวันออกกลางไปและมายังส่วนอื่นๆของโลก ดังนั้นดูไบจึงมีความชำนาญในเรื่องการขนส่งสินค้า การจัดเก็บสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการท่าเรือ DLD เป็นเขตที่มีการบริการครอบคลุมสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกตั้งแต่การผลิต การบรรจุหีบห่อ การเดินพิธีการศุลกากร การขนส่ง การกระจายสินค้า และการเก็บสินค้าคงคลังเป็นต้น ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่   www.dubailogisticscity.net

20.Dubai Maritime City ตั้งอยู่ระหว่าง Dubai’s Port Rashid terminal และ Dubai Drydocks
Dubai Maritime City คือ เมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่อยู่บนคาบสมุทรที่มนุษย์สร้างขึ้นมาโดยการถมทะเลออกไปและจัดตั้งเป็นเขตการค้าเสรี เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาอยู่อาศัย และด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนใครเนื่องจากถูกล้อมไปด้วยน้ำทะเลจากอ่าวอาระเบีย และมี
สาธารณูปโภคครบครันเช่นเดียวกับเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆของดูไบ จึงมีผู้สนใจไปอาศัยอยู่ ตั้งบริษัท สถานศึกษา ร้านค้าต่างๆมากมาย  ผู้สนใจติดต่อได้ที่ www.dubaimaritimecity.ae

นอกจากทั้ง 20 แห่งที่กล่าวมาแล้ว
ดูไบยังมีโครงการจัดตั้งเขตธุรกิจเสรีเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้ครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท และเป็นการรองรับภาวะการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในดูไบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้นักลงทุนสามารถเลือก
โครงการให้ตรงกับความต้องการได้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ www.uaefreezone.com
1.Dubai Academic City
2.Dubai Auto Parts City
3.Dubai Building Material Zone
4.Dubai Carpet FZ
5.Dubai Cars & Automotive Zone
6.Dubai Design Center
7.Dubai Energy City
8.Dubai Textile City
9.heavy Equipment & Trucks Zone

ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.consular.go.th

การลงทุนในดูไบ

กฎระเบียบการค้าการลงทุน
            เมื่อเรารู้แล้ว  ว่าธุรกิจอะไรน่าสนใจ  เออเนาะ   เข้าท่า  แต่ว่า  ทำไงต่อไปละ  ใช่แล้ว  เมื่อรู้ช่องทางทีนี้ก็ต้องมาดูว่า  จะทำไง  ถึงจะมีบริษัท  มีธุรกิจเป็นของตัวเอง  ต้องทำยังไงบ้าง  มาดูกันค่า  ไม่ยากเลย  แต่อิฉันคน  ขอผ่าน  5555

ขั้นตอนการเปิดบริษัทในยูเออี
                ขั้นตอนเกี่ยวกับการขอนุญาตดำเนินการเปิดบริษัทในกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีดังต่อไปนี้
1.ชาวต่างชาติที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้จะต้องมีผู้ให้การรับรอง (Sponsor) เป็นชาวอาหรับพื้นเมือง ซึ่งจะเป็นเจ้าของใบอนุญาตทำธุรกิจ โดยถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 51 (ผู้ให้การรับรองดังกล่าวมักจะเป็นหุ้นลมหรือ Sleeping Partner) โดยจะให้ผู้ลงทุนชาวต่างชาติเช่าใบอนุญาตการค้าโดยการจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามแต่ตกลงเป็นรายปีทั้งนี้ผู้ลงทุนฯจะเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตต่างๆและดำเนินธุรกิจเอง
2. ในขั้นแรก ผู้ขออนุญาตจะต้องขอตั้งชื่อบริษัท (trade name) ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจาก Abu Dhabi Chamber of Commerce and Industry  ภายหลังจากนั้น ต้องไปติดต่อที่ Planning and Economic Department ของ Ministry of Economy and Commerce ซึ่งจะพิจารณาเอกสารการขอเปิดบริษัท ซึ่งเอกสารหนึ่งที่สำคัญคือ สัญญาการเช่าสถานที่ดำเนินกิจการ ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่บริษัทประสงค์จะดำเนินการ และ Bank Certificate  ให้การรับรองว่าได้มีการจ่ายค่า company capital แล้ว และหากยังขาดเอกสารหรือข้อมูลที่สำคัญใดๆ ก็จะให้ดำเนินการไปขอความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. ภายหลังจากได้ความเห็นชอบจาก Planning and Economic Department และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เอกสารต่างๆ จะถูกส่งไปที่สภาเทศบาล (municipality) ซึ่งจะมีหนังสือนำไปถึง Abu Dhabi Chamber of Commerce and Industry เพื่อให้ออกบัตรสมาชิกให้ (Membership Certificate) หลังจากนั้น ผู้ขออนุญาตจะต้องไปขอ register บริษัทดังกล่าวที่ฝ่าย Commercial Registration ที่ Planning and Economic Department ซึ่งก็จะส่งเรื่องต่อไปที่ Ministry of Economy and Commerce ซึ่งจะดำเนินขั้นตอนต่างๆ ต่อไปเพื่อ registration
4. เมื่อได้รับใบอนุญาตเปิดกิจการแล้วผู้ขออนุญาตจะต้องแจ้งกระทรวงแรงงานเพื่อ ขอวิซ่าทำงาน ผู้ขออนุญาตจะต้องนำสำเนาหนังสือเดินทางของคนทำงานพร้อมคำร้องเพื่อขอ Employment Visa หลังจากนั้นจะต้องนำเพื่อให้กระทรวงแรงงาน อนุญาตว่าสามารถนำเข้าคนงาน ได้พร้อมออก ใบสัญญาการว่าจ้างคนงาน เพื่อที่ผู้ขออนุญาตจะใช้ประกอบในการทำ Employment Visa จากกรมตรวจคนเข้าเมืองต่อไป
5. ค่าใช้จ่ายในการขอวีซ่าอื่นๆทั้ง 3 ข้อดังกล่าวข้างต้นจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,200 USD โดยตามกฏหมายแรงงานนายจ้างจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนี้ รวมทั้งค่าธรรมเนียมการต่อวีซ่าและ บัตรประจำตัว จะต้องจัดทำทุก 3 ปี หลังสิ้นอายุวีซ่าในแต่ละครั้ง 
ค่าเช่าพื้นที่และค่าเช่าร้าน
            ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในรัฐอาบูดาบีแตกต่างกัน เช่น ในตึก villa  3 ห้องนอนราคาอยู่ที่ 300,000 ดีแรห์มต่อปีขึ้นไป (ประมาณ 3 ล้านบาท) ในขณะที่ showroom ในตึกและสำนักงานทั่วไปตารางเมตรละ 2000 ดีแรห์ม (20,000 บาท) ขึ้นไปต่อปี

ภาษีและการส่งเงินกลับประเทศ
            ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่มีการเก็บภาษีรายได้ และไม่มีการจำกัด การส่งเงินกลับบ้านของแรงงานต่างชาติหรือการโยกย้ายเงินทุนและกำไรของบริษัทต่างชาติที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ      ติดต่อขอทราบข้อแนะนำต่างๆ ได้ที่สภาหอการค้าอาบูดาบี    services@adcci.gov.ae 

ข้อมูลโดย   http://www.mfa.go.th

ธุรกิจที่น่าสนใจในดูไบ


เอาละซิทีนี้   เดินทางเหินฟ้ามาก็แระ   ครั้นมาหางานทำก็ยากเหลือ  งั้นสู้หาธุรกิจเป็นของตัวเองเลยดีกว่า  แต่ว่า   มันมีอะไรบ้างละที่น่าสนใจ  นั่นซิ  มาดูกัน  เผื่ออนาคตจะรุ่งเรือง  ( รุ่งริ่งไม่เอานะ )

1.ธุรกิจที่เกี่ยวพันกับการท่องเที่ยว
- ธุรกิจโรงแรม
ข้อมูลจากหนังสือ United Arab Emirates Yearbook 2009 รายงานว่า จนถึงเดือนกันยายน 2008 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์จำนวน 8.5 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นทุกปีๆละ 7.5% ในจำนวนนี้เป็นชาวยุโรปที่มาเที่ยวดูไบมากที่สุดถึง 32% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด อีก 23% เป็นชาวเอเชีย ในจำนวนนี้ 6.95 ล้านคนพักในโรงแรมที่ดูไบสิ้นปี 2007 มีรายงานว่าในดูไบมีโรงแรมที่เปิดทำการแล้วทั้งสิ้น 319 แห่ง มีห้องพักทั้งหมด 32,600 ห้อง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่ดูไบตั้งใจออกมาเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวไปจนถึงปี 2015 แล้ว จะพบว่าปริมาณห้องพักยังไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากดูไบมีโครงการที่จะสร้าง “ DUBAILAND” ซึ่งเปรียบเสมือน Disneyworld of Middle East ที่มีขนาดใหญ่เป็น สี่เท่าครึ่งของเมืองแมนฮัตตัน ในสหรัฐอเมริกา โครงการนี้ทางดูไบคาดการณ์ว่าจะทำให้ยอดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 19% เป็น 35% ในปี 2015
นอกจากโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ดูไบมีอยู่แล้ว เช่น Emirates Palace Hotel, The Burj al-Arab โรงแรมเจ็ดดาว,Jumeirah Palm เกาะรูปต้นปาล์ม หรือ Dubai Mall ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง รวมถึง The  Dolphinarium อาณาจักรเรียนรู้เกี่ยวกับปลาวาฬและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ในขณะนี้มีโรงแรมที่ถือว่ามีคนไทยเป็นหุ้นส่วนและร่วมบริหารที่อยู่ในดูไบ คือ โรงแรมดุสิตดูไบ ซึ่งเป็นโรงแรมในเครือของดุสิตธานีที่เมืองไทย
-ธุรกิจร้านอาหารไทย
จากการที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวดูไบนี้เอง เป็นโอกาสอันดีที่คนไทยจะมาเปิดร้านอาหารไทยเนื่องจากอาหารไทยเป็นที่นิยมทั้งของคนดูไบและชาวต่างชาติอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากจำนวนร้านอาหารไทยที่อยู่ในดูไบทั้งหมด 34 ร้าน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในจำนวนทั้งหมดนี้มีเพียงแค่ 4 ร้านเท่านั้นที่ดำเนินกิจการโดยคนไทย นอกนั้นเป็นชาวจีนบ้าง ชาวอินเดียบ้าง และร้านอาหารเหล่านี้ไม่ได้ใช้พ่อครัวหรือแม่ครัวที่เป็นคนไทย แต่จะจ้างชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่ชาวเนปาลทำอาหาร ทำให้รสชาติอาหารผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง และจากอัตราการเจริญเติบโตของนักท่องเที่ยวที่ทางการคาดการณ์ไว้ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารย่อมต้องเจริญเติบโตตามไปด้วย นอกจากนั้นชาวดูไบเองก็นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้ยังคงมีช่องทางการตลาดอยู่อีกมาก
-ธุรกิจสปาและนวดไทย
สปาและการนวดแผนโบราณแบบไทยก็เป็นที่นิยมกันในหมู่ทั้งชาวดูไบและชาวต่างชาติที่มาอยู่และมาท่องเที่ยวที่ดูไบ แต่ลักษณะจะคล้ายคลึงกับธุรกิจร้านอาหารไทยคือ แม้จะมีจำนวนร้านสปามากมายที่ลงโฆษณาว่าเป็น Thai Spa แต่ที่ดำเนินกิจการโดยคนไทยจริงๆนั้นมีอยู่เพียง 3 แห่งเท่านั้นเอง นอกนั้นดำเนินกิจการโดยคนชาติอื่นๆ ทั้งๆที่ส่วนใหญ่พนักงานนวดในร้านจะเป็นคนไทยที่เดินทางมาจากเมืองไทย จึงกล่าวได้ว่าเรานิยมส่งออกพนักงานสปาและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปามากกว่าที่จะลงทุนเปิดกิจการเอง ธุรกิจสปาและนวดไทยมีแนวโน้มว่าจะยังคงเติบโตได้ดีที่ดูไบ เนื่องจากผู้คนหันมานิยมการดูรักษาและบำบัดแบบวิธีธรรมชาติมากขึ้นเห็นได้จากการโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะขึ้นต้นว่า Thai Spa หรือ Thai Massage เพื่อเป็นการเชิญชวนให้คนมาใช้บริการ เห็นได้ว่า

2.ธุรกิจโรงพยาบาล
เป็นที่รู้กันดีว่าโรงพยาบาลในเมืองไทยนั้นมีคุณภาพในการรักษาพยาบาล และการบริการก็เยี่ยมตามลักษณะนิสัยคนไทย และเมื่อเปรียบเทียบราคาค่าใช้จ่ายสำหรับชาวต่างชาติแล้ว พบว่าไม่ได้แพงจนเกินไป ดังนั้นชาวดูไบจึงนิยมบินมารักษาตัวที่เมืองไทยเป็นจำนวนมาก เพราะโรงพยาบาลที่ดูไบในขณะนี้ ยังมีไม่เพียงพอแก่ความต้องการ และจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยรวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวที่ดูไบ ในขณะที่อาบูดาบีมีกลุ่มทุนโรงพยาบาลจากเมืองไทย 2 แห่ง คือ 1.บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) มาเปิดกิจการโรงพยาบาล ชื่อว่า Royal Bangkok Hospital Abu Dhabi และ 2.บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ชั่นแนล จำกัด เซ็นสัญญา 4 ปีเพื่อเข้ามาบริหารโรงพยาบาล อัล มาฟริก อาบูดาบี แต่ในตอนนี้ยังไม่มีกลุ่มทุนใดๆจากเมืองไทยเข้ามาเปิดกิจการโรงพยาบาลที่ดูไบเลย

3.ธุรกิจการก่อสร้าง
แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำจนทำให้ภาคการก่อสร้างที่ดูไบหยุดชะงักเป็นบางส่วน แต่ก็ยังมีบางส่วนทยีั่งคงมีการก่อสร้างต่อไป ในขณะเดียวกันก็ยังมีโครงการใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากแผนพัฒนาของดูไบยังคงเน้นไปที่การท่องเที่ยว ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้ามาที่ดูไบ รวมถึงการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อการพัฒนาดูไบ ดังนั้นการก่อสร้างโรงแรม บ้านพักอาศัย หรืออะไรก็ตามเพื่อสนองตอบความต้องการในส่วนนี้จึงเป็นความจำเป็น เท่าที่ผ่านมามีคนไทยจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในไซต์งานก่อสร้าง ทั้งที่เป็นวิศวกรและพนักงานในแผนกต่างๆ แต่ก็มาในฐานะลูกจ้างของบริษัทต่างชาติไม่ใช่ของคนไทย ทั้งๆที่ฝีมือและคุณภาพของงานของคนไทยก็เป็นที่ยอมรับในความสามารถ

4.ธุรกิจการนำเข้าและกระจายสินค้าไทย
นอกจากอาหารไทยในร้านอาหารไทยจะเป็นที่นิยมกันอย่างมากในดูไบแล้ว เครื่องปรุงอาหารไทย รวมไปถึงผัก และผลไม้ไทยก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน เนื่องจากมีคนไทยอาศัยอยู่มากพอควรและชาวต่างชาติที่ชอบทำอาหารไทยก็มี ถ้าเราไปเดินตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในดูไบจะพบว่ามีเครื่องปรุงอาหาร เช่น น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำพริกต่างๆ กะทิ รวมไปถึงอาหารแห้งอย่างเช่น เส้นหมี่ วุ้นเส้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากเมืองไทยวางขายในชั้น และก็ขายดีด้วย แต่ผู้ประกอบการแต่ละที่จะเป็นผู้นำเข้าเอง ดังนั้นถ้ามีผู้สนใจนำสินค้าในหมวดนี้เข้ามาและกระจายไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เชื่อว่าน่าจะทำได้ และมีหนทางประสบความสำเร็จ

5.ธุรกิจอื่นๆ
นอกจากประเภทธุรกิจที่กล่าวมาแล้วยังมีธุรกิจประเภทอื่นๆอีก ที่สามารถเปิดตัวในตลาดดูไบได้ เช่นการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากเมืองไทย, ธุรกิจประดับยนต์, ธุรกิจสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน เป็นต้น

ผู้ที่สนใจการลงทุนทำธุรกิจที่ดูไบสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ หรือ สำนักการค้าต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://www.thaiconsulate.ae

หางานทำในดูไบ



               
                  อิชช่า อิชช่า เมื่อได้วีซ่ามาครอบครอง เอาละเหวย เอาละวา คราวนี้ตรูจะออกหางานทำ จะมีเงินเยอะๆ ฝันเฟื่องตอนกลางวัน อิอิ แล้วจะไปทำงานอะไรดีหว่า
1. ภาษาปะกิตก็ snake snake fish fish ( งู ๆ ปลา ๆ )
2. มองทางไหนก็มีแต่ผู้ชายทำงาน อันงานอื่นๆ ฟิลิปปินส์ก็ฟาดเรียบ
3. อยากเปิดร้านเอง ......โอ้ววว มายก๊อด ทามมายมันจะยากเย็นปานนี้ หากคิดจะเปิดกิจการที่นี่ ต้องมีคนพื้นที่ ( Local ) เป็น sponsor ให้ ถือหุ้น 51% อ้าว งั้นตรูก็เหลือแค่ 49% ซิงานนี้ แล้วจะไปหา sponsor ที่ไหน ไม่รู้จักใครเลย
เออน่า มันต้องมีซักงานแหละที่เข้ากับเรา มาดูกันซิ ว่างานอะไรน่าสนใจ

อาชีพที่คนไทยทำในดูไบ

1. สปา และ นวดไทย
เรื่องของสปา และนวดไทยนั้น ขึ้นชื่อระดับโลก ไม่ว่ามุมไหน ประเทศไหน ก็มี ดังนั้น การันตีได้เลย ว่ามีงานทำชัวร์ แต่ไม่มั่วนิ่มนะเออ เพราะที่นี่ เค้าเอาฝีมือจริงๆ ร้านที่เปิดส่วนมากจะเป็นร้านตามโรงแรม 5 ดาว 7 ดาว ส่วนค่าแรงนั้น ก็ตกที่ 5,00010,000 ดีแรม และยังมีที่พัก มีรถรับส่งด้วย
แต่ก็เหมือนว่า ที่ไหน ก็ที่นั่น ต้องมีการค้าแอบแฝงตลอด อย่างที่กำลังเป็นปัญหา และทำลายชื่อเสียง สปาและนวดไทยของเรา ก็คือ การที่ฟิลิปปินส์ นำสปามาใช้ควบคู่กับการ ขายบริการทางเพศ ทำให้การทำงานเป็นเรื่องลำบากขึ้นไปอีก อีกทั้งตอนนี้ ดูไบได้ออกกฎหมายควบคุมเข้ม เรื่องการนวดตามห้อง หรือ ที่พัก ไม่สามารถกระทำได้ จะกระทำได้ ก็ต่อเมื่อตาม spa เท่านั้น

2. ร้านอาหาร
ไม่ว่าจะเป็นพ่อครัวหรือว่าพนักงานเสริฟ์ ร้านอาหารไทยก็ต้องการคนไทยทำอย่างแน่นอน เพราะว่าไม่มีชาวต่างชาติที่ไหนจะรู้รสชาติของอาหารบ้านเราดีกว่าคนไทยเอง ที่ต้องเป็นพนักงานเสิร์ฟไทยด้วยเพราะว่ารู้จักหน้าตาและรสชาติของอาหาร เพื่อที่จะได้แนะนำได้อย่างถูกต้อง
แต่ก็ใช่ว่าจะได้เงินดีอย่างที่คิด หากต้องเจอนายจ้างกดขี่ อันนี้เคยไปทานอาหารไทยร้านนึงในดูไบ โดยได้คุยกับพนักงานเสริฟ โดยน้องเล่าให้ฟังว่า ได้ค่าแรง 1,500 ดีแรม ( 12,000 บาท ) ทิปต่างหาก โดย การพักอาศัยแทบจะต้องเบียดกันอยู่ และค่าแรงยังต้องหักโน่นหักนี่ ไม่เหมือนดังที่ตกลงกันไว้ก่อนเดินทางมา

3. ร้านเสริมสวย
ที่นี่จะแยก ชาย และ หญิง ชัดเจน จะไม่มีการมั่วตัดเด็ดขาด และแทบจะทุกจุด จากร้านตามโรงแรม ห้าง หรือแม้แต่ข้างทาง สามารถ บริการได้หมด แต่ว่า ค่าแรงก็ลดหลั่นตามสถานที่ นะค่ะ และเป็นงานที่หาง่าย แต่ค่าแรงต่ำมาก ค่าแรงจะอยู่ที่ 1,000-1,500 ดีแรม ( คูณ 7.6 = บาท )  แต่ขอบอกนะค่ะ  ร้านเสริมสวยที่นี่ จะมีเฉพาะบนห้าง หรือเขตชุมชนใหญ่ๆ เท่านั้นค่ะ  


4.งานเพ็นท์เล็บ
บางร้านจะแยกงานเพ็นท์เล็บออกมาเป็นร้านต่างหาก จะทำเกี่ยวกับดูแลเล็บ เพ็นท์ งานตัวนี้ ก็ถือว่าหางานได้ง่ายอีกตัวนึง ค่าแรงอยู่ที่ 1,000 -1,500 ดีแรมเช่นกัน แต่แปลกนะ มาอยู่ที่นี่ มีร้านที่เพ้นท์เล็บจริงๆ แค่ 2 ร้าน ร้านหนึ่งอยู่ที่ Dubai Mall อีกแห่งอยู่ที่ IBN batuta Mall แถมบอกก่อนนะค่ะ ว่าแพงมาก ลายพื้นๆ ถ้าจองล่วงหน้า ต้องจ่ายค่านัดอีก 30 ดีแรม เฮ้อ กลับไปบ้านงวดนี้จะไปหัดเรียนซะแระ จะมารับจ๊อบตามห้องน่าจะดี


5. งานเรือ
เป็นงานที่หนักมาก แต่เงินก็ดีมากด้วยเช่นกัน เพียงแต่ว่าก่อนไปจะต้องมีการลงทุน คือ จ่ายเงินให้บริษัทตัวแทนหางานเรือกันสักหน่อย และก็ต้องพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย ส่วนมากจะเป็นคนที่เคยทำงานโรงแรมแล้วเปลี่ยนไปทำงานในเรือ



6.พนักงานต้อนรับบนเครืองบิน
มีคนไทยมากมายที่ทำงานตอนรับบนเครืองบิน โดนเฉพาะการบินเอมิเรสต์แอร์ไลนต์ เพราะว่าเป็นสายการบินนานาชาติที่ใหม่และใหญ่ติดอันดับโลก จะมีพนักงานทุกชาติทุกภาษามาทำงานกัน รวมทั้งคนไทยด้วย

7. พนักงานโรงแรม
โดยปกติแล้ว ส่วนมากจะเป็นคนไทย ที่ถือ residence visa คือ ติดตามสามีมาทำ และโรงแรมที่เป็นที่นิยมคือ โรงแรมดุสิต แต่ว่า ภาษาต้องแจ่มนะเออ

8. ค้าประเวณี อันนี้ไม่อยากเอามาจัดอันดับเอาเสียเลย
แต่ก็ไม่อยากโกหกผู้อ่านก็ต้องจำใจเอามาใส่ไว้ เพราะว่าเป็นอาชีพที่สาวไทย และว่าสาวประเภทสองที่ต้องการหาเงินได้ง่ายและเยอะในเวลาอันสั้น จนมักทำกันอยู่เสมอ ฟันธงค่ะว่าอาชีพนี้ไม่ขอแนะนำให้ทำกันนะคะ เพราะว่าจะมีผลกระทบทั้งคนทำเองและคนในชาติด้วย

ข้อดีของการทำงานที่นี่
1. ค่าวีซ่า ค่าตั๋ว ทางบริษัทจ่ายให้ทั้งหมด เราไม่ต้องจ่ายอะไรเลยค่ะ
2. สวัสดิการดีมาก เค้าจะมีที่พัก มีรถรับส่ง หากเราหาที่พักเอง เค้าก็มีเงินให้ อีกอย่าง สามารถกลับประเทศได้ ปีละ 1 ครั้ง โดยทางบริษัท จะเป็นคนจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินให้เรา พร้อมทั้งภรรยาด้วยค่ะ

ก่อนมาทำงานที่ดูไบ ต้องคิดให้ดีก่อน

1. ส่วนมาก  คนทำงานจะเป็นผู้ชาย    เพราะโดยปกติแล้ว ผู้หญิง เค้าจะไม่ให้ทำงาน ดังนั้นเมื่อต้องจ้างแรงงานหญิง จึงเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนมากจะได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินเดีย ปากีสถาน ค่าแรงจะถูกมากๆ บางคนทำงานทำความสะอาด ค่าแรง 1,000 ดีแรม ( 8,000 บาท) โห อย่านึกว่าเยอะนะค่ะ เพราะค่าครองชีพที่นี่ สูงมากกกกกกกกกก ติดอับดับโลกเลยทีเดียว
2. ถ้าต้องการทำงานร้านนวด หรือ ร้านสปาใหญ่ๆ เงินเดือนดีๆ อันนี้ต้องมีใบรับรองจากกงสุลด้วย และต้องเคยผ่านการทำงานจากโรงแรมระดับ 4 หรือ 5 ดาวมาก่อน ( เอากันที่ฝีมือ และประสบการณ์ จริงๆๆๆๆๆ )
3. ถ้าเจอนายจ้างดีก็ดีไป แต่ถ้าเจอนายจ้างกดขี่ข่มเหง อันนี้ก็กลืนไม่เข้า คายไม่ออกละค่า ทั้งค่านายหน้า ค่าเดินเรื่อง ค่าอะไรต่อมิอะไร หนี้สินที่ยืมมาอีก เฮ้อ ให้ตายเถอะโรบิน เพราะว่าที่นี่ ต้องมีคน Local เป็น sponsor
4. ค่าครองชีพที่นี่ สูงมากๆ ติดอันดับโลกเลย ถึงแม้ไม่ต้องเสียภาษี แต่เค้าก็เอาเงินจากเราได้จากทางอื่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่ากิน ค่ารถ เอ้อ เห็นแล้วจะหนาว
5. อากาศร้อนสุดๆ ยิ่งช่วง มิย.-สค. อากาศอยู่ที่ 40-50 องศาละค่า
6. สำหรับ กระเทย หรือ เกย์ หากคิดมาทำงานที่นี่ ต้องคิดให้ดี เพราะดูไบ ต่อต้านเพศที่ 3 ถึงขนาดว่าคนมุสลิมเอง หากจับได้ว่าเป็นกระเทย ตัดสินประหารชีวิตเท่านั้น ไม่มีลดหย่อนโทษ มีเพื่อนคนนึง เป็นพนักงานที่โรงแรม เป็นเกย์ ( แต่ไม่บอกใคร ) ต่อหน้าผู้คนจะแมนมากๆๆๆๆๆ เคยถามไม่กลัวเหรอ เค้าบอกกลัว แต่อยากเก็บเงินซักก้อน ต้องแอ๊บสุดขีด ไม่งั้น โดนจับ ตายยยยยย
7. สำคัญสุดว่า การทำงานที่นี่ หากมาด้วยสัญญาจ้างตัวใด ต้องทำงานนั้นงานเดียว ตัวอย่าง หากมาด้วยสัญญาจ้างของร้านสปา ที่นี้ วันหยุด เวลาว่าง เราไปรับจ๊อบทำงานร้านอาหาร หรือรับนวดตามห้อง หากตำรวจจับได้ ส่งกลับประเทศภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ ต้องระวัง